วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555
แนวโน้มนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
แนวโน้มการพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารซึ่งมีความก้าวหน้าอย่าง
รวดเร็ว จะมุ่งเน้นในการบริหารจัดการสารสนเทศที่มีอยู่อย่างมากมาย ให้เกิดการนำมาใช้ประโยชน์สูงสุด ทั้งด้านธุรกิจ ด้านการศึกษาและวิจัย ด้านความบันเทิง รวมถึงด้านความมัน่ คง โดยอาศัยเทคโนโลยีทางการ
สื่อสารเป็นพื้นฐานสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศที่อยู่กระจัดให้เกิดเป็นเครือข่ายข้อมูลไร้พรมแดน
หรือ Ubiquitous Information Society ที่ข้อมูลและข่าวสารได้รับการเชื่อมโยงและเข้าถึงอย่างไร้ข้อจำกัด
แนวโน้มการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารทั้งทางตรงและทางอ้อม แนวโน้มทางเทคโนโลยีที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน เช่น
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Internet Broadband) จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของ
เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อศูนย์กลางต่างๆทัว่ โลก เกิดเป็นเครือข่ายการแลกเปลี่ยนข้อมูลขนาดใหญ่ที่
เข้าถึงได้ทุกมุมโลก ส่งผลให้เกิดการสร้างสรรค์รูปแบบธุรกิจได้อย่างหลากหลาย
เครือข่ายข้อมูลไร้สาย (Wireless Connection) การนำเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลไร้สายมาใช้ใน
ภาคธุรกิจอย่างกว้างขวางในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้การสื่อสารข้อมูลก้าวข้ามขีดจำกัดทางกายภาพ
ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องผูกติดกับสถานที่หรือรูปแบบเดิมๆ ข้อมูลได้รับการส่งผ่านไปถึงแม้ในพื้นที่ที่ไม่คาดฝัน
เทคโนโลยีดิจิตอล (Digital Technology) ด้วยความก้าวหน้าด้านอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้การพัฒนา
และออกแบบอุปกรณ์อันทันสมัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อดิจิตอลเป็นไปอย่างรวดเร็ว ด้วยคุณสมบัติที่ดีขึ้นในขณะที่ต้นทุนลดลง ทำให้ผู้บริโภคสามารถแปลง จัดเก็บ และใช้งานข้อมูลต่างในรูปแบบดิจิตอลได้อย่างง่ายดาย
สื่อจัดเก็บข้อมูลดิจิตอล (Digital Storage) ด้วยต้นทุนที่ลดลงในการจัดหาสื่อการจัดเก็บข้อมูล
ดิจิตอล ส่งเสริมให้การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลเป็นไปอย่างแพร่หลาย ทั้งในภาคธุรกิจและใน
ภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลในรูปแบบเดิมจึงได้รับการแปลงให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง
มาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูลดิจิตอล (Digital Content Platform) เพื่อให้ข้อมูลดิจิตอลจากสื่อใน
รูปแบบต่างๆสามารถแลกเปลี่ยนและนำเสนอได้อย่างรวดเร็วและหลากหลายผ่านทางเครือข่าย มาตรฐานการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ จึงได้รับการพัฒนาให้รองรับการใช้งานข้อมูลดิจิตอลทั้งในรูปการใช้งานในปัจจุบันและรูปแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาทิ มาตรฐาน XML
การบริหารจัดการลิขสิทธิ์ (Rights Management) ด้วยความแพร่หลายของข้อมูลดิจิตอลที่ขยายวง
กว้างอย่างรวดเร็ว ทำให้การควบคุมการเข้าถึง (access) การทำสำเนา (copy) รวมทั้งการเผยแพร่ (distribute)
เป็นไปได้ยาก ประกอบกับกฎหมายด้านลิขสิทธิ์ในรูปแบบเดิมไม่สามารถครอบคลุมในทางปฏิบัติได้ จึงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในการควบคุม ตรวจสอบการเข้าถึง และการทำ
สำเนาของสื่อดิจิตอลในรูปแบบต่างๆ อาทิ เทคโนโลยี DRM หรือ Digital Rights Management DRM
สรุปแล้วนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำลังมุ่งสู่ยุคข้อมูลดิจิตอล หรือ Digital
Content ซึ่งเน้นยุคที่ข้อมูลและข่าวสารรูปแบบต่างๆ (ข้อความ เอกสาร ภาพ และเสียง) จะได้รับการจัดเก็บและเผยแพร่ผ่านสื่อในรูปแบบดิจิตอลและเครือข่าย ซึ่งจะเป็นเครือข่ายสำคัญในการขับเคลื่อนและสร้างโอกาสทาง
ธุรกิจยุคใหม่ ดังตัวอย่างเช่น อากาศ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หูฟังไร้สายสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยเทคโนโลยีบลูทูธ หรือ Thai CAD ซึ่งเป็น CAD Software ที่พัฒนาขึ้นเองทั้งหมดโดยทีมงานไทย โดยมีรูปแบบ Layer ที่สามารถทับซ้อนกันในลักษณะเดียวกันกับแผ่นใส ซึ่งไม่เหมือนกับ CAD Software อื่นๆ
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีขององค์การ
ปัจจุบันพัฒนาการและการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในองค์การ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายแก่ผู้บริหารในอนาคตให้นำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ธุรกิจ โดยผู้บริหารต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และวิสัยทัศน์ต่อแนวโน้มของเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถตัดสินใจนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราสามารถจำแนกผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อการทำงานขององค์การออกเป็น 5 ลักษณะ ดังต่อไปนี้
1. การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ
เทคโนโลยีหลายอย่างได้ถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ และส่งผลให้กระบวนการทำงานได้เปลี่ยนรูปแบบไป ตัวอย่างเช่น การนำเอาเทคโนโลยีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics mail) เข้ามาใช้ภายในองค์การ ทำให้การส่งข่าวสารไม่ต้องใช้พนักงานเดินหนังสืออีกต่อไป ตลอดจนลดการใช้กระดาษที่ต้องพิมพ์ข่าวสารและสามารถส่งข่าวสารไปถึงบุคคลที่ต้องการได้เป็นจำนวนมากและรวดเร็ว หรือเทคโนโลยีสำนักงานอัตโนมัติ (office automation) ที่เปลี่ยนรูปแบบของกระบวนการทำงานและประสานงานในองค์การให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ขององค์การ
2. การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์
โดยเทคโนโลยีสารสนเทศจะผลิตสารสนเทศที่สำคัญให้แก่ผู้บริหารที่จะใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจและการสร้างความได้เปรียบเหนือกว่าคู่แข่งขัน ในอนาคตการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีความรุนแรงมากขึ้น การบริหารงานของผู้บริหารที่อาศัยเพียงประสบการณ์และโชคชะตาอาจจะไม่เพียงพอ แต่ถ้าผู้บริหารมีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมาประกอบในการตัดสินใจ ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาและบริหารงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น ดังนั้นผู้บริหารในอนาคตจะต้องสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสร้างสารสนเทศที่ดีให้กับตนเองและองค์การ
3. เครื่องมือในการทำงาน
เทคโนโลยีถูกนำเข้ามาใช้ภายในองค์การ เพื่อให้การทำงานคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ เช่น การออกเอกสารต่าง ๆ โดยใช้คอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบชิ้นส่วนของเครื่องจักร และการควบคุมการผลิต เป็นต้น เราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสามารถที่จะนำมาประยุกต์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการที่จะนำมาประยุกต์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเทคโนโลยีจะช่วยเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงคุณภาพของการทำงานให้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของแรงงานและวัสดุสิ้นเปลืองต่าง ๆลง แต่ยังคงรักษาหรือเพิ่มคุณภาพในการทำงานหรือการให้บริการลูกค้าที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเทคโนโลยีจะถูกนำเข้ามาใช้ในการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงกระบวนการในการดำเนินงานขององค์การมากขึ้นในอนาคต
4. การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ PC ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนการใช้งานสะดวกและไม่ซับซ้อนเหมือนอย่างคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ในท้องตลาดยังมีชุดคำสั่งประยุกต์ (application software) อีกมากมายที่สามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตของงานได้อย่างมาก และเมื่อต่อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้ากับระบบเครือข่าย ก็จะทำให้องค์การสามารถรับ-ส่งข้อมูลและข่าวสารจากทั้งภายในและภายนอกองค์การได้อีกด้วย ดังนั้นในอนาคตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะกลายเป็นเครื่องมือหลักของพนักงานและผู้บริหารขององค์การ
5. เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร
ในช่วงแรกของการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานทางธุรกิจคอมพิวเตอร์จะถูกใช้เป็นเพียงอุปกรณ์หลักที่ช่วยในการเก็บและคำนวณข้อมูลต่าง ๆ เท่านั้น ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้มีศักยภาพมากขึ้น โดยสามารถที่จะต่อเป็นระบบเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันผู้ใช้สามารถติดต่อเพื่อที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันได้จากทุกหนทุกแห่งทั่วโลก คอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทที่สำคัญมากกว่าการเป็นเครื่องมือที่เก็บและประมวลผลข้อมูลเหมือนอย่างในอดีตต่อไป
แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ แสดงให้เราเห็นได้ว่าในอนาคต ผู้ที่จะเป็นนักบริหารและนักวิชาชีพที่ประสบความสำเร็จจะต้องไม่เพียงแค่รู้จักคอมพิวเตอร์ แต่จะต้องสามารถใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ และรู้จักการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยผู้บริหารในอนาคตจะต้องรู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับงานของตน มีความคิดในการที่จะสร้างระบบสารสนเทศที่ตนเองต้องการ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในภาวะที่มีการแข่งขันสูง ทำให้การบริหารของตนเองมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จอย่างสูง ขณะที่นักวิชาชีพจะใช้ระบบสารสนเทศในการรวบรวมประมวลผล และจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการค้นหาและตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้บูรณาการเข้าสู่ระบบธุรกิจ ดังนั้นองค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต เพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น